วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554

รูปหล่อปั๊มหลวงพ่อโอด วัดจันเสน ทองแดง

รูปหล่อสร้างมณฑป หลวงพ่อโอด วัดจันเสน 



เป็นรูปหล่อชนิดปั๊ม จุดประสงค์เพื่อหาทุนในกาสร้างมณฑป มีทั้งหมดสี่เนื้อ 
1.เนื้อเงิน จำนวน 500 องค์ (โค๊ดที่สังฆาฏิด้านหลัง บางองค์มีทั้งด้านหนเาและด้านหลัง) 
2.เนื้อทองเหลือง จำนวน 10,000 องค์ (โค๊ดที่สังฆาฏิด้านหน้า) 
3.เนื้อทองแดง จำนวน 7,000 องค์ (โค๊ดที่สังฆาฏิด้านหน้า) 
4.เนื้อตะกั่ว จำนวน 3,000 องค์ (โค๊ดที่สังฆาฏิด้านหน้า) 
มีโค๊ดตอกทุกเนื้อ และมาการทำลายแม่พิมพ์ ทั้งยังนำแม่พิมพ์ที 
ทำลายแล้วมาเก็บไว้ที่วัด

พระครูสุวิชานวรวุฒิ หลวงพ่อปี้ ทินโน

พระครูสุวิชานวรวุฒิ หลวงพ่อปี้ ทินโน


ชาติภูมิ     
พระครูสุวิชานวรวุฒิ นามเดิมคือ ปี้ ชูสุข
       (คำว่า "ปี้" หมายถึง เงินตราสมัยโบราณ)
       เกิดเมื่อวันพุธที่ 15 ตุลาคม 2455 ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีขาล
       ณ ตำบลลานหอย อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย
       มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คน ต่างบิดา 2 คน คือ
       1. พระครูสุวิชานวรวุฒิ (ปี้ ชูสุข) ใช้นามสกุลเดิมฝ่ายมารดา
       2. นายเขียด ชูสุข (ถึงแก่กรรม)
       3. นายน้ำค้าง ห่วงตุ่น (ถึงแก่กรรม)
       4. นายธรรม ห่วงตุ่น
        5. นายไหม ห่วงตุ่น
        6. นายทอน ห่วงตุ่น ต่างบิดา (ถึงแก่กรรม)
        7. นายประทิน ห่วงตุ่น ต่างบิดา








   การปกครอง และสมณศักดิ์


          พ.ศ. 2481 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดเชิงคีรี


          พ.ศ. 2485 ย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดลานหอย และได้รับตราตั้งกรรมวาจาจารย์


          พ.ศ. 2492 เป็นพระอุปัชฌาย์


          พ.ศ. 2496 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลบ้านด่านลานหอย


          พ.ศ. 2510 เลื่อนขึ้นเป็นพระครูสัญญาบัตร พระครูเจ้าคณะตำบลชั้นโท


          พ.ศ. 2510 เป็นเจ้าคณะตำบลกิตติมศักดิ์


ท่านก็ถึงกาลมรณภาพไป เมื่อเวลา 19.27 น. ด้วยโรคหัวใจวาย ณ โรงพยาบาลสุโขทัย ด้วยอาการสงบ สิริอายุ 71 ปี 2 เดือน 26 วัน


          แม้ว่าท่านจะมรณภาพไปแล้ว ด้วยคุณงามความดี กอปรกับอิทธิบารมี พระครูสุวิชานวรวุฒิ (หลวงพ่อปี้ ทินโน) แห่งวัดลานหอย ตำบลลานหอย อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย ยังเป็นปูชนียบุคคลทางด้านศาสนาที่ชาวสุโขทัย และประชาชนทั่วไปให้ความเคารพสักการะอย่างไม่เสื่อมคลาย 

หลวงพ่อจันทร์ (พระครูจันทโรภาส) แห่งวัดป่าข่อย

หลวงพ่อจันทร์ (พระครูจันทโรภาส) แห่งวัดป่าข่อย

เหรียญหลวงพ่อจันทร์ (พระครูจันทโรภาส) แห่งวัดป่าข่อย (หลังเหรียญแกะบล็อคผิดเป็น วัดปากข่อย) อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย รุ่นแรก ปี 2514 




   หลวงปู่จันทร์ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีอายุยืนเกิน100ปี ร่ำเรียนวิชาจากหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ท่านเป็นพระที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ กราบท่านได้สนิทใจจริงๆ

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

หลวงพ่อขวัญ วัดบ้านไร่



หลวงพ่อขวัญ ปวโร วัดบ้านไร่ จ.พิจิตร (เจ้าตำรับแหวนรอดอันลือลั่น)
หลวงพ่อขวัญ หรือ พระครูพิมลธรรมานุศิษฐ์ เดิมชื่อ ขวัญ หมอกมืด เกิดเมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๔๕๑ ที่บ้านไร่ ตำบลสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ เดือน ๔ แรม ๘ ค่ำ ที่วัดบ้านนา ตำบลบ้านนา อำเภอสามง่าม (ปัจจุบันอยู่ที่อำเภอวชิรบารมี) ท่านเป็นพระนักพัฒนาและพระนักก่อสร้าง ท่านให้ความช่วยเหลือสังคมโดยการบริจาคทรัพย์ในการก่อสร้างที่ศาสนสถาน สถานศึกษา โรงพยาบาล และหน่วยงานทางราชการต่าง ๆ โดยท่านได้สร้างวัตถุมงคลให้ไว้เป็นที่ระลึกแก่ผู้ร่วมบริจาคสมทบ ได้แก่ พระสมเด็จเพชรหลีก ,ตะกรุด และที่นิยมโดยทั่วไป ได้แก่ แหวนพระพิรอด แต่คนส่วนมากมักจะเรียกว่า แหวนตะกร้อ ท่านละสังขารเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๘ รวมสิริอายุได้ ๙๗ ปี






คำพูดที่ฮือฮามากในช่วงนั้น(20 กว่าปีมาแล้ว) คือคำพูดของหลวงพ่อเกษม เขมโก ที่คนพิจิตรมักจะพูดถึงคือ มีคนพิจิตรไปกราบหลวงพ่อเกษมแล้วหลวงพ่อเกษมพูดว่า "มาทำไมถึงที่นี่ ที่พิจิตรก็มีหลวงพ่อขวัญ" ประโยคนี้แม้แต่ "คุณฉวีวรรณ ขจรประศาสน์" ภริยาท่านพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ ยังเคยพูดกับผมในช่วงนั้นเลย ซึ่งช่วงนั้นเสธฯหนั่นกำลังเป็น ม.ท.1 ด้วย คุณฉวีวรรณเล่าให้ผมฟังว่า "ป้าได้ไปกราบหลวงพ่อขวัญมาแล้ว ไปเช่าแหวนท่านมาด้วย หลวงพ่อเกษมยังบอกให้ไปกราบหลวงพ่อขวัญเลย" (ผมเพิ่มเติมว่าหลวงพ่อขวัญท่านเคยไปเรียนวิชาทำน้ำมันสมุนไพรคุณพระรักษา ที่ จ.ลำปาง ครับ)
ครั้งหนึ่งมีพิธีปลุกเสกพระหลวงพ่อเงิน ที่วัดบางคลาน ผมมีโอกาสได้รับ-ส่งหลวงพ่ออุตตมะจากสนามบินพิษณุโลกและวัดบางคลาน(ทำให้มี บุญได้พาหลวงพ่อมาพักผ่อนที่บ้านหลังเสร็จพิธีด้วย) ในครั้งนั้นผมจึงถวายแหวนหลวงพ่อขวัญเป็นที่ระลึกกับหลวงพ่ออุตตมะด้วย หลังจากนั้นผมได้ไปกราบหลวงพ่ออุตตมะที่พุทธมนฑลสาย 2 หลวงพ่อหยิบแหวนหลวงพ่อขวัญแล้วพูดกับผมว่า "ของดีนะ" แล้วท่านก็เอาแหวนของหลวงพ่อขวัญมอบให้กับลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดกับท่าน โดยใส่แหวนให้ที่นิ้วด้วยมือของหลวงพ่อเอง แต่ปรากฏว่าแหวนหลวมไป หลวงพ่อท่านก็หาด้ายมาพันที่ท้องวงแหวนให้ เมื่อหลวงพ่อพันด้ายเสร็จก็เอาแหวนมาใส่ให้ด้วยมือของท่านเองอีก คราวนี้ใส่ได้พอดี หลวงพ่ออุตตมะท่านยิ้มแล้วบอกว่า "ของดีนะใส่ติดตัวไว้นะ"
แค่นี้ก็คงพอแล้วนะครับ แต่เท่าที่ทราบก็ยังมีครูบาอาจารย์อีกหลายองค์ที่พูดถึงหลวงปู่ขวัญอีกเช่น หลวงปู่ครูบาหล้าตาทิพย์, หลวงพ่อแพ, หลวงพ่อฤาษีลิงดำ(หลวงพ่อท่านมอบข้าวตอกพระร่วงให้หลวงพ่อขวัญด้วย) แต่บังเอิญผมไม่มีข้อมูลอ้างอิงครับ ท่านที่มีข้อมูลตรงนี้กรุณาเล่าให้ฟังบ้างนะครับ





หลวงปู่ขวัญเล่าเรื่องตะกรุด

หลวงปู่เล่าว่า "ฉันทำตะกรุด ฉันก็ทำไปตามตำรา มารู้ว่าเป็นจริงตามตำราก็เพราะว่ามีคนที่ฉันให้ตะกรุดเขาไปเขามาเล่าให้ฟัง ว่า เขาเป็นพัสดีคุมนักโทษแล้วมีเรื่องเกิดขึ้น คือนักโทษมันแหกคุกหนีออกมา เขาก็ไล่ตามจับ นักโทษมันมีปืนมันก็หันเอาปืนมายิงเขา เขาก็เอาปืนยิงไปที่นักโทษบ้าง ยิงกันไปยิงกันมาอยู่อย่างนั้นปรากฏว่าไม่มีใครโดนลูกปืนเลย"(ผมขอเสริมว่า ตะกรุดของหลวงปู่จะคลาดแคล้วทั้งสองฝ่าย เพื่อไม่ให้มีเวรมีกรรมต่อกัน) "มีคนคนหนึ่งคนนี้เขายิงปืนแม่นมาก เขาอยากลองตะกรุดของฉัน เขาจึงเอาตะกรุดไปผูกไว้ที่คอไก่แล้วก็ยิงไก่ ปรากฎว่าลูกปืนไปถูกเชือกที่ผูกตะกรุดขาด ตะกรุดจึงหล่นหายไปเลย หาเท่าไหร่ก็ไม่พบส่วนไก่ไม่เป็นอะไร เขามาเล่าให้ฉันฟังแล้วมาขอตะกรุดฉัน นอกจากฉันไม่ให้ตะกรุดเขาแล้วยังตำหนิเขาด้วย"



หลวงปู่ขวัญเล่าเรื่องพระกริ่ง พระกริ่งของท่านที่ตัดรุ้งขาดได้

หลวงปู่เล่าว่า "ฉันได้ตำราสร้างพระกริ่งปวเรศมา พระกริ่งนี้ตัดรุ้งขาดได้ ฉันจะสร้างพระกริ่ง" ผมได้ยินตอนนั้นหูผึ่งเลยติดตามข่าวอย่าง ใกล้ชิดตลอด จนใกล้วันออกพรรษาหลวงปู่พูดกับผมว่า "ฝนมันตกแล้วแต่ยังไม่เห็นมีรุ้งสักที" ผมได้ฟังแล้วยินดีเป็นอย่างยิ่งที่หลวงปู่เมตตาพูดแบบนี้ให้ฟัง ผมรู้ว่าคืออะไร และไม่กล้าที่จะถามอะไรท่านต่อไป
เรื่องพระกริ่งนี้ป้าเป้าซึ่งเป็นหลานหลวงปู่และเป็นคนจำหน่ายวัตถุ มงคลให้กับวัดบอกว่าเป็นเรื่องแปลก เพราะว่าหลวงปู่ท่านกำหนดราคาพระกริ่งเองว่าให้จำหน่ายองค์ละ 1,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่แพงมากสำหรับหลวงปู่ เพราะขนาดพระที่จำหน่ายอยู่ราคาแค่ 50 บาท หลวงปู่ยังบ่นว่า "ทำไมไปเอาเขาแพงจัง"

ปาฏิหาริย์หลวงพ่อขวัญ

ผมได้คุยกับคนคนนี้เองเลย เขาชื่อสิบเอกสมพงษ์ ปัญญาพิมพ์ ตอนนั้นเป็นทหารอยู่ที่ลพบุรี เขามากราบขอบคุณหลวงปู่ ซึ่งได้ช่วยชีวิตเขาไว้โดยรายนี้เป็นพลร่มป่าหวาย ไปฝึกโดดร่มบังเอิญร่มขาดกลางอากาศร่วงลง ในตอนนั้นเขาไม่ได้ใส่อะไรนอกจากแหวนตะกร้อหลวงพ่อขวัญเท่านั้น เขาจึงเชื่อว่าหลวงพ่อขวัญเป็นผู้ช่วยชีวิตเขา ตอนนั้นเขาเพิ่งออกจากโรง พยาบาลกระโหลกเขายังไม่เต็มเลย ยังเห็นสมองเต้นตุบๆ ที่ศรีษะของเขา ผมถามว่าถ้าปรกติกรณีแบบนี้จะเป็นอย่างไร เขาบอกว่า "เอาปิ๊ปเก็บเศษเนื้อของผมได้เลยครับ" รายละเอียดจาก คมชัดลึก



นางมาลัย ปัญญาพิมพ์ อายุ 44 ปี อยู่บ้านเลขที่ 127/79 ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ จ.พิษณุโลก เล่าถึงอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงปู่ขวัญว่า เมื่อประมาณปี 2539 จ.ส.อ.สมพงษ์ ปัญญาพิมพ์ อายุ 41 ปี สามี ซึ่งเป็นทหารสังกัดกองทัพน้อยที่ 3 ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ จ.พิษณุโลก ไปฝึกหลักสูตรเปลี่ยนแบบร่มที่ จ.ลพบุรี โดยขณะฝึกนั้นสามีโดดร่มลงมาจากเครื่องบิน และเมื่อมาถึงระยะ 5,500 ฟิต สามีกระชากร่ม แต่ร่มไม่กางออก แม้แต่ร่มช่วยก็ไม่ทำงาน
"ตอนนั้นสามีบอกความรู้สึกได้เพียงว่า คงไม่รอดแน่ เนื่องจากระยะที่สูงมาก จึงเพียงนึกถึงหลวงปู่ขวัญและคุณพ่อคุณแม่ โดยในตัวมีเพียงแหวนรุ่นหัวสิงห์ของหลวงปู่ขวัญเท่านั้น หลังจากนั้นก็เก็บคองอเข่าตามหลักสูตรที่เรียนมา เมื่อตกมาถึงพื้นก็หมดสติไป" นางมาลัย กล่าว
นางมาลัย ยังกล่าวอีกว่า เพื่อนทหารช่วยกันนำสามีส่งโรงพยาบาล โดยแพทย์บอกว่า ให้ทำใจ เพราะโอกาสที่รอดมีน้อยมาก หรือหากรอดชีวิตก็มิสิทธิเป็นคนปัญญาอ่อน เพราะสมองกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง แขนทั้งสองข้างหัก แต่หลังจากอยู่ในห้องไอซียูไม่ถึง 8 วัน สามีก็ฟื้น โดยอาการเหมือนคนไม่ได้เป็นอะไรเลย ซึ่งแพทย์ยังงง โดยเฉพาะแขนที่หักก่อนหน้านั้น เมื่อแพทย์จะผ่าตัดกลับพบว่า แขนไม่ได้เป็นอะไรเลย ทุกอย่างปกติเหมือนคนทั่วไป ทั้งนี้จากอุบัติเหตุดังกล่าวสามีนอนอยู่ในโรงพยาบาลเพียง 23 วันเท่านั้น นางมาลัย ยังเล่าอีกว่า หลังจากที่สามีหาย ได้สอบถามคนในครอบครัวจึงทราบว่า บิดาของตนไปขอร้องให้หลวงปู่ขวัญช่วย โดยเขียนชื่อที่อยู่จริงของโรงพยาบาลที่สามีนอนรักษา หลังจากนั้นจึงทราบว่าหลวงปู่ท่านได้นำชื่อมาเพ่งกระแสจิต จนทำให้อาการของสามีหายดีในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งข่าวดังกล่าวดังไปทั่วประเทศ โดยช่วงนั้นสามีของตนเองไปออกรายการทีวีหลายรายการ อย่างไรก็ตาม นับแต่นั้นมาตนและสามีจะไปเยี่ยมหลวงปู่ขวัญทุกอาทิตย์เป็นประจำตลอดมา และการจากไปของท่านคงไม่สามารถบรรยายออกมาเป็นความรู้สึกได้      ขอขอบคุณที่มาจาก...ศิษย์หลวงปู่ขวัญ


หลวงพ่อห้อม อมโร

อัตตชีวประวัติหลวงพ่อห้อม อมโร
พระราชพฤฒาจารย์ วัดคูหาสุวรรณ ต.ธานี อ.เมือง จ.สุโขทัย





พระราชพฤฒาจารย์ หรือ พระสุขวโรทัย เดิมชื่อ ห้อม เป็นบุตรนายเรือง นางมาลัย ครุฑนาค ปู่ชื่อนายครุฑ ย่าชื่อนางพลึง ตาชื่อนายติ่ง ยายชื่อนางปราง อยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน คือบ้านคลองตะเคียน หมู่ที่ 12 ปัจจุบันเป็นหมู่ที่ ตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ปู่เป็นผู้ใหญ่บ้าน พ่อ-แม่ อยู่บ้านปู่ย่าจึงคลอดที่บ้านปู่

คลอดวันอังคาร แรม 13 ค่ำ เดือนยี่ ปีวอก วันที่ 19 มกราคม 2451เวลาประมาณ โมงเย็น เวลาคลอดมีคนมาเยี่ยมกันมาก ปู่จึงถือนิมิตนี้ ตั้งชื่อให้ว่า ห้อม เมื่อคลอดแล้วคงอยู่ที่บ้านปู่ ย่า ต่อมาพ่อถูกเกณฑ์ให้ไปเป็นทหารเข้าประจำการที่พิษณุโลก เมื่อถึงกำหนดปลดประจำการ ถูกระดมไปในราชาภิเษกรัชกาลที่ ขึ้นครองราชย์ เมื่อกลับมาถึงกองประจำการแล้วอยู่คอยรับใบกองหนุน เวลาเที่ยงคืนลงท้อง(ท้องเสีย)อย่างแรง เข้าใจว่าเป็นอหิวาตกโรค พอสว่างก็ขาดใจตาย เขาเอาศพไปฝังไว้ที่ป่าช้าวัดยาง พิษณุโลก ตายเดือนเมษายน พ.ศ.2454 เดือน 4
นายเต่า ครุฑนาคพี่ชายคนโต(ของพ่อ)ได้ไปขุดศพขึ้นมาเผาเก็บอัฐิธาตุมาให้ อัฐิธาตุนี้ได้เอาใส่ไว้หลุมนิมิต(หลุมลูกนิมิต)หลุมกลางรวมทั้งปู่ย่าด้วยในวันผูกพัทธสีมาวัดฤทธิ์ พ.ศ.2476 นายรอด คงเนียม (พ่อของท่านพระสุธรรมธีรคุณ(เจ้าคุณดำรง พทฺธญาโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดไทยชุมพล) เป็นลูกพี่ลูกน้องกันไปเป็นทหารอยู่ด้วยกัน แต่เป็นทหารหลัง ปี เล่าว่า ได้เอาใจใส่พยายามรักษาอย่างเต็มที่ เวลาตายก็นอนตายในตักของแกเอง หลังจากพ่อตายแล้ว ตายายก็รับเอามาเลี้ยงส่วนแม่ก็มีสามีต่อไป

พ.ศ.2455 ถึง พ.ศ.2477 เป็นคุดทะราด คือเป็นแผลตามใบหน้าตามัวแขนขาแทบทั้งตัว ต้องรักษาอยู่ ปี จึงหายได้
พ.ศ.2458 เดือน ฝนตกน้ำขังในคลองแคน้อย ซึ่งห่างจากบ้านตา ประมาณ เส้น ได้ไปลงเล่นน้ำ ไปคนเดียว เดินลงไปถึงหลุมที่ขุดไว้จึงตกลงไปมิดหัวต้องกินน้ำเสียหลายกลืน นายแจ้ง ดีร่อง สักว่าเป็นอา เอาควายไปลงน้ำเห็นเข้า จึงได้เอาขึ้นมาได้

พ.ศ.2459 นายจ่าง พุ่มมั่น ซึ่งเป็นน้าออกจากทหารมาบวชจำพรรษาอยู่วัดศิริราฎร์เจริญธรรม(ฤทธิ์)เข้าไปอยู่วัดด้วย หลวงน้าให้เรียนหนังสือ เดิมหัดเขียน ก.ข.น้อย ซึ่งมี 35 ตัว อักษรมีมีตัวอักษรดังต่อไปนี้ ก.ข.ค.ฆ.ง.
จ.ฉ.ช.ฌ.ญ. ด.ต.ภ.ท.ธ.ฒ.พ.บ.ป.ผ.ฝ.ภ.ม.ย.ล.ร.ว.ส.ห.ฬ.อ.ฮฯ ใช้ไม้กระดานยาวประมาณ ศอกกว้างประมาณ 15นิ้ว เอาดินหม้อมาผสมข้าวสุกทา เอาดินเหนียวมาปั้นเป็นดินสอเขียนหนังสือลงในกระดาน

พ.ศ.2461 ไปเข้าโรงเรียนประชาบาล วัดคุ้งยางใหญ่ ตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เรียนอยู่ ปีอ่านหนังสือแบบเรียนเร็วเล่ม 1ได้เพียงครึ่งเล่ม พอบวกลบได้ที่เรียนได้น้อยนั้น เพราะปีหนึ่งได้เรียนเพียง 3เดือน คือเข้าเรียน เดือนนอกนั้นต้องออกไปเลี้ยงควายอยู่ทุ่งนา

พ.ศ.2465 ไปอยู่เลี้ยงควายให้นายชุ่ม นางพลับ ปั้นสำรี สักเป็นยายซึ่งเป็นพี่ของยาย บ้านวงฆ้อง ตำบลเกาะตาเลี้ยง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย เดือนอ้ายหนาวจัด โมงเช้าจึงเห็นดวงอาทิตย์ เล่นปืนก้านร่ม เอาก้านร่มที่เป็นเหล็ก มาตัดทำเป็นปืนใช้ยิงนกเล็กๆ ขอดินปืนจากตาชุ่มใส่ขวดเล็กไว้ใช้ เอามาใช้เวลาเช้ามืด ข้างขวดเย็นเป็นน้ำ จึงเอาขวดที่ใส่ดินปืนมาอังไฟ(ลนไฟ) ไฟแลบเข้าขวดดินปืนในขวดจึงระเบิดแตกกระเด็นใส่ตาข้างซ้ายถึงกับหงายท้อง ต้องรักษาตาอยู่เดือนจึงหาย ไปเลี้ยงควายเขาให้ข้าว 40 ถัง นัดให้แม่เอาล้อ(เกวียน)มาลาก แม่ไม่ไปลากตามกำหนด เขารื้อครัวเข้า ข้าวกองอยู่ในลานนาบึง รุ่งวันไปดูขโมยลักขนเอาไปหมด ในปีนั้นไม่ได้ค่าแรง
พ.ศ.2467 นายจ่อง พุ่มอิ่ม ไปทำไม้ที่บึงหญ้า ตำบลสามพวง อำเภอคีรีมาศ ในสมัยนั้นยังเป็นอำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย มาขอให้ไปขับล้อ(เกวียน)ลากไม้จากบึงหญ้ามาลงที่โตนดทิ้งไม้ที่หน้าวัดวาลุการาม ไปอยู่แต่เดือน ถึงเดือน รวม เดือน ไม่ได้ค่าแรงเลย

พ.ศ.2469 ไปอยู่เลี้ยงควายให้นายพลอย นางตาล สุวรรณโรจน์ ได้ข้าว เกวียน 
พ.ศ.2471 เดือน 10 เป็นไข้หนักถึงกับลืมตัว ได้หมอชวน อยู่ทอง รักษา เป็นหมอโบราณ เมื่อหายแล้วผมร่วง
มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน คน แต่ต่างบิดากัน

1.นายห้อม บุญมี
2.นางจันทร์ ขำแจง
3.นางถ้วน อยู่ทอง
4.นายถนอม บุญมี






ชีวิตในเพศบรรพชิต

          เข้าบวชที่พัทธสีมาวัดคุ้งยางใหญ่ ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองจังหวัดสุโขทัย
มีพระครูวินัยสาร(ทิม ยสทินฺโน) เจ้าคณะอำเภอเมืองสุโขทัย ต่อมาท่านได้เลื่อนขึ้นเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย นามสมณะศักดิ์ว่าพระครูวินิจฉัยพุทธบัญญัติและต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย มีสมณะศักดิ์ว่าพระราชประสิทธิคุณเป็นพระอุปัชฌาย์

พระครูสังฆรักเจ๊ก เจ้าอาวาสวัดหัวฝาย เป็นพระกรรมวาจาจารย์

และพระอธิการแป๊ะ เจ้าอาวาสวัดคุ้งยางใหญ่เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เข้าอุปสมบทในวันพฤหัสบดี แรม ค่ำ เดือน ปีมะโรง วันที่19มีนาคม 2471 มีผู้เข้าร่วมอุปสมบทด้วยกันทั้งสิ้น 27 คน เข้าโบสถ์เวลาเช้ามืด เข้าสวดญัตติคู่ที่ มีพร้อมกัน คน 1.นายแล เรืองโต 2.นายห้อม บุญมี3.นายยาค เกตุเอี่ยม สำเร็จญัตติ เวลา 9.00 น.ได้นามฉายา อมโร

ประเพณีการบวชที่ ต.บ้านสวน ในสมัยนั้น ยังต้องไปแต่งตัวเป็นนาคที่วัดก่อนบวช วันแรม ค่ำ ตอนบ่ายจึงไปโกนหัวอาบน้ำแต่งตัวรับศีลเป็นนาคที่วัดคุ้งยางใหญ่ แล้วขึ้นคานหาม แห่ไปพักที่ร่มโพธิ์ทุ่งนาบ้านคลองแคใหญ่ เต้นรำกันพอสมควรแล้วขึ้นคานหาม แห่เข้าบ้าน ตอนเย็นทำขวัญนาค ได้นายแว่ว เป็นหมอทำขวัญ กลางคืนมีเพลง บวชแล้วมีเพลงฉลองอีก คืน ในงานนี้ได้รับการช่วยเหลือเป็นอย่างมาก คือ

1.นายพลอย-นางตาล สุวรรณโรจน์ ช่วยผ้าไตร ไตร

2.นายไม้-นางพวง นักเพลงที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น อยู่บ้านแสงดาว พิษณุโลก มีศักดิ์เป็นน้า มาเล่นเพลงช่วย คืน

3.นายทอง นายเที่ยง บ้านเกาะไม้แดง อ.ศรีสำโรง เอากลองยาวมาแห่ให้

4.นายหนาบ บ้านวัดบอน เอาพิณพาทย์มาตีให้

5.พวกญาติไปหาปลาในบึงมากันหลายหาบและที่บ้านก็เลี้ยงหมูไว้ด้วย

6.บางพวกก็ทำเหล้า-น้ำขาว(สาโท) มาช่วยหลายโอ่ง ในงานบวชครั้งนี้จึงไม่ได้กู้ยืมเงินใครมาใช้เลย เมื่อบวชแล้วจึงมาอยู่จำพรรษาที่วัดฤทธิ์ศิริราษฎร์เจริญธรรม โดยมีหลวงพ่อฤทธิ์ เทวะ เป็นเจ้าอาวาส มีพระอาจารย์โป่ง เป็นรองเจ้าอาวาส




ศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐาน

พระเดชพระคุณหลวงพ่อห้อม ได้สนใจใฝ่ศึกษามาตั้งแต่เป็นวัยเด็กโดยมีตาของท่านเป็นผู้มีวิชาอาคมเป็นที่อัศจรรย์ ท่านเล่าว่ามีอยู่ครั้งหนึ่งมีไก่ตัวผู้ซึ่งเป็นไก่ที่ตีเก่งและมันไปติดตัวเมียไม่ยอมกลับบ้าน ท่านจึงจะ ออกไปตามหาแต่ตาของท่านบอกว่าไม่ต้องไปหรอกประเดี๋ยวจะเรียกมันกลับมาเอง ตอนนี้ให้ไปหาข้าวให้ตากินก่อน ท่านจึงไปจัดหาข้าวให้ตากิน ต่อมาเวลาพลบค่ำตาท่านก็เรียกท่านมาหาบอกว่าไก่มาแล้ว และท่านก็เห็นตาท่านอุ้มไก่อยู่ในมุ้งแล้วก็ส่งให้หลวงพ่อ ซึ่งหลวงพ่อเล่าว่ามันน่าอัศจรรย์ใจมากเพราะตาของท่านไม่สามารถเดินไปไหนได้ ดวงตาท่านมองไม่เห็น(ตาบอด)แต่สามารถใช้วิชาเรียกไก่มาได้ และทุกๆวันจะเห็นคนมาขอสีผึ้ง ขอแป้งเสก จากตาท่านจำนวนมาก ทำให้หลวงพ่อสนใจที่จะศึกษาวิชาด้านนี้ ต่อมาระหว่างไปเลี้ยงควายได้พบกับลุงอีกคนหนึ่งชื่อว่าลุงช่วยเป็นคนบ้านสวน หลวงพ่อเล่าว่า ระหว่างเลี้ยงควายด้วยกันลุงก็จะใช้ให้ไปย้ายควายกินหญ้าบ้าง ให้เอาควายไปกินน้ำบ้าง โดยลุงช่วยบอกว่าจะสอนวิชาให้

แล้ววันหนึ่งลุงช่วยก็เรียกท่านมาแล้วบอกว่าให้ลองเอามีดแทงที่แขนซิ ก็ปรากฏว่าไม่เข้า ทำให้ท่านตื่นเต้นมากและลุงช่วยก็สอนให้แก่ท่านลุงช่วยบอกว่าเป็นวิชาของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตร ซึ่งลุงช่วยเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ซึ่งหลวงพ่อเงินสมัยนั้นมีชื่อเสียงโด่งดังมาก ซึ่งต่อมาพระเดชพระคุณหลวงพ่อห้อมได้นำวิชานี้มาเป็นคาถาในการปลุกเศกวัตถุมงคลเพื่อให้มีผลในทางคงกระพัน ซึ่งท่านเล่าว่าก่อนที่จะนำไปปลุกเศกเหรียญหรือวัตถุมงคล ทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าคาถายังใช้ได้ดีอยู่ หลวงพ่อจึงลองปลุกเศกตะกรุดและนำตะกรุดดังกล่าวไปใส่ในปลาช่อนซึ่งตายแล้วและเห็นว่าแม่ครัวกำลังจะทำอาหารถวายพระใน วัดคูหาสุวรรณนั่นเอง

โดยท่านใช้กุศโลบายว่า ให้แม่ครัวนั้นไปเอาของให้หน่อยและท่านก็เอาตะกรุดซึ่งลงอักขระยันต์ดังกล่าวใส่ปากปลาช่อนนั้น ต่อมาแม่ครัวก็กลับมาเพื่อทำปลาแต่ก็ปรากฏว่าไม่ว่าจะใช้มีดฟันไปที่ปลาช่อนตัวนั้นไปกี่ครั้งก็ไม่เข้า เมื่อเห็นดังนั้นท่านจึงบอกแม่ครัวให้ไปเอาของอีกครั้งหนึ่งและเอาตะกรุดดอกนั้นออกเสียและก็ใช้ พระคาถานั้นมาปลุกเศกวัตถุมงคลของท่านเพื่อให้เกิดผลในทาง คงกระพัน นับแต่นั้นมา...........
ในวัยเด็ก-วัยหนุ่มของหลวงพ่อจึงได้ศึกษาวิชา-อาคมมาบ้างแล้ว    ท่านเคยเล่าให้ฟังว่าว่าครั้งหนึ่งท่านเป็นเด็กหนุ่มได้เดินทางไปเที่ยวถึงวัดบ้านซ่าน อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ไปกับเพื่อน 2-3 คน เมื่อขณะกำลังจะเดินทางกลับก็มีวัยรุ่นแถวบ้านซ่าน หลายคนทำท่าจะมาหาเรื่อง  ท่านบอกว่าท่านไม่ได้รู้สึกกลัวเลย เฉยๆ ท่านบอกให้เพื่อน ท่านเดินอ้อมไปก่อนส่วนตัวท่านสูบบุหรี่อย่างเต็มที่ทั้งบริกรรมคาถา แล้วก็เดินผ่านไปกลางวัยรุ่นกลุ่มนั้นแล้วพ่นบุหรี่ไป ปรากฏว่าวัยรุ่นกลุ่มนั้นก็ตีกันเองจ้าละหวั่น ส่วนท่านก็กลับบ้านโดยปลอดภัย ท่านเรียกว่าวิชา(อาพัดบุหรี่) ซึ่งเหตุการณ์อย่างนี้ก็เกิดหลายครั้งแต่ท่านก็ปลอดภัยทุกครั้ง

เมื่อท่านถึงเวลาอุปสมบทท่านไปอยู่วัดฤทธิ์หรือวัดน้อย เนื่องด้วยมีความเคารพรักและศรัทธาในตัวหลวงพ่อฤทธิ์เป็นอย่างมากเฉกเช่นเดียวกับชาวบ้านทั้งตำบลบ้านสวน และต้องการเรียนรู้วิปัสสนากรรมฐานและคาถา-อาคมกับหลวงพ่อฤทธิ์ เทวะ ซึ่งท่านเจ้าอาวาสวัดฤทธิ์ฯนี้ หลวงพ่อฤทธิ์นั้นเดิมท่านเป็นคนบ้านคลองตะเคียน ต.บ้านสวนนี่เอง ต่อมาท่านได้อุปสมบทและเมื่อครั้งกิตติคุณชื่อเสียงของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังษี แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม โด่งดังมาก ท่านจึงได้ชักชวนเพื่อนสหธรรมมิกของท่านคือหลวงพ่อเจ็ก วัดหัวฝาย และหลวงพ่อแป๊ะ เจ้าอาวาสวัดคุ้งยางใหญ่ เดินทางไปเรียนศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต  พรมรังสี เจ้าอาวาสวัดระฆัง ที่บางกอก(สมัยนั้นเรียกกรุงเทพว่าบางกอก) เมื่อเรียนอยู่ที่นั่นพรรษา สำเร็จจึงเดินทางกลับมาบ้านและเป็นเจ้าอาวาสวัดฤทธิ์ศิริราษฎรเจริญธรรม และมีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยนั้น
หลังจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อห้อมได้มาพำนัก ณ วัดฤทธิ์ศิริราษฏร์เจริญธรรมแล้ว ท่านก็เริ่มศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อฤทธิ์ซึ่งเป็นอาจารย์ทันที ท่านต้องท่องหนังสือหรือต่อหนังสือจากพระรุ่นพี่ซึ่งหลวงพ่อห้อม มีความรู้น้อยมากท่านเล่าว่าการต่อหนังสือก็โดยการให้พระรุ่นพี่ท่องให้ฟังแล้วท่านก็หัดท่องตามซึ่งเรียกกันว่าต่อหนังสือ ท่านท่องจนได้ ในพรรษานี้ท่านเริ่มทำสมาธิอย่างจริงๆจังๆและท่านก็ได้เล่าให้ฟังว่า ตอนทำสมาธิใหม่ๆเมื่อจิตเกิดความสงบขึ้นในจิตใจก็ปรากฏว่าในนิมิตของท่านมีงูตัวใหญ่มากมาฉกกัดท่าน แต่ท่านก็ไม่ได้รู้สึกกลัว ท่านบอกว่าคงเป็นเทวดามาแกล้งทดลองใจ ท่านทำสมาธิได้ดีทีเดียว นอกจากนี้ในวัดฤทธิ์ก็ปรากฏว่ามีแขกของหลวงพ่อฤทธิ์ เทวะ รวมทั้งชาวบ้านมาหาอย่างมากมายในแต่ละวัน


แม้แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัยในสมัยนั้นคือพระยาวิเชียรปราการ ก็นำเรือมาทางแม่น้ำยมและเลี้ยวเข้าทางบางคลองเข้ามาเทียบท่าที่วัดฤทธิ์เพื่อกราบนมัสการหลวงพ่อฤทธิ์ รวมทั้งนำอาหารมาถวายอย่างมากมาย หลวงพ่อเล่าว่าการเดินทางสมัยนั้นทางเรือเป็นทางที่สะดวกที่สุดเพราะว่าทางบกต้องเดิน หรือใช้เกวียนซึ่งต้องใช้เวลา ท่านอยู่ที่วัดฤทธิ์อย่างมีความสุข และนอกจากชาวบ้านแขกเหรื่อแล้ว ก็ยังมีพระเถระต่างๆมาเยี่ยมเยียนหลวงพ่อฤทธิ์จำนวนมากไม่ว่าทั้งใกล้และไกล เท่าที่ท่านจำได้ก็มีหลวงพ่อแป้น วัดเสาธงใหม่ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดอยุธยา ก็เป็นพระสหธรรมมิกกับหลวงพ่อฤทธิ์ เทวะด้วย ซึ่งหลวงพ่อแป้นมาที่วัดฤทธิ์นี้บ่อยมาก หลวงพ่อห้อมเล่าว่าท่านเดินทางมาศึกษาวิชาทำพระเนื้อชินจากหลวงพ่อฤทธิ์ ซึ่งวัดฤทธิ์หรือวัดน้อยในสมัยนั้นยังเป็นศูนย์รวมสรรพวิชา ไม่ว่าจะยาสมุนไพร หรือยากลั่นหรือยาเปรี้ยว ซึ่งต่อมาพระเดชพระคุณหลวงพ่อห้อมก็มาใช้รักษาคนถูกหมาบ้ากัดหรือถูกงูกัด หรือแก้อาการปวดท้อง พระเดชพระคุณหลวงพ่อห้อมอยู่ที่วัดฤทธิ์นี้ได้ พรรษา หลวงพ่อฤทธิ์ได้เรียกท่านมาหาแล้วบอกให้ท่านไปเรียนศึกษาต่อที่ในจังหวัดสุโขทัยเพื่อให้มีความรู้มากขึ้น ซึ่งท่านก็ได้มาอยู่ที่วัดราชธานี แต่เนื่องจากในสมัยนั้นมีพระอยู่จำนวนมาก จึงต้องไปนอนในวิหารวัดราชธานีซึ่งปรากฏว่าในวิหารเย็นมากและกลางคืนก็หนาว ซึ่งอยู่ที่วัดราชธานีได้ไม่กี่วันหลวงพ่อดับ(ประดับ)เจ้าอาวาสวัดคูหาสุวรรณก็ได้เดินทางมาที่วัดราชธาน ีเพื่อชวนหลวงพ่อห้อมให้ไปอยู่ด้วยกันที่วัดคูหาสุวรรณ ซึ่งหลวงพ่อดับก็เป็นคนบ้านสวนเหมือนกัน เมื่อหลวงพ่อดับบอกว่าถึงที่วัดคูหาสุวรรณ มันจะคับแคบแต่ก็อยากให้ไปอยู่ด้วยกัน ด้วยความเมตตาของหลวงพ่อดับท่านจึงข้ามฝั่งมาอยู่วัดคูหาสุวรรณ นับแต่นั้นมา คือวันที่ เมษายน 2473
พ.ศ.2474 ท่านเข้าเรียนนักธรรมสอบได้นักธรรมชั้นตรี
พ.ศ.2476 สอบได้นักธรรมชั้นโท
พ.ศ.2477 สอบได้นักธรรมชั้นเอก ในสำนักเรียนวัดราชธานี
พ.ศ.2487 สมัครเข้าสอบมัธยมศึกษาปีที่ ที่โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคมสอบได้มัธยมศึกษาปีที่ 6